วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

5 สูตรอาหารไทย ทำเองได้ที่บ้าน


5 สูตรอาหารไทย ทำเองได้ที่บ้าน


กับข้าว อาหารที่ทานกับข้าว อาหารไทยทานกับข้าวสวย คนไทยนิยมกินข้าวเหนียวและข้าวเจ้า สูตรอาหารไทย แบบง่ายๆสามารถทำกินเองที่บ้านได้ อาหารไทยมีอะไรบ้าง เมนูต้ม เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง ครบในที่เดียว เมนูอาหาร แบบไม่ยากทำเองได้ มีให้เลือกครบทุก เมนูอาหาร อาหารไทย 4 ภาค
กับข้าว อาหารไทย เมนูอาหาร สูตรอาหาร

อาหารไทย สูตรอาหาร หลากหลายเมนู ทั้ง เมนูต้ม เมนูแกง เมนูผัด เมนูทอด เมนูย่าง เมนูนึ่ง วัตถุดิบก็มีครบทุกชนิด อาทิ เมนูไก่ เมนูปลา เมนูหมู เมนูเป็ด เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูหอย เมนูกะทิ เมนูเต้าหู้ รวมให้ท่านๆได้รู้จักมากขึ้น ดังนี้


ในวันนี้ ขอนำเสนอ 5 เมนูอาหารไทย ดังต่อไปนี้...

แกงเขียวหวานทะเล อาหารไทย เมนูกะทิ อาหารทะเล พร้อมวิธีทำ

แกงเขียวหวานทะเล อาหารไทย เมนูแกงกะทิ เมนูอาหารทะเล วิธีทำแกงเขียวหวานทะเล ง่ายๆ สามารถทำกินเองที่บ้านได้ แกงเขียวหวานทำอย่างไร พริกแกงเขียว จากสมุนไพร แกงกะทิ ปรุงรสให้กลมกล่อม กับ อาหารทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก แกงเขียวหวาน แบบง่ายๆ
แกงเขียวหวานทะเล อาหารไทย เมนูแกง แกงเขียวหวาน
อาหารไทย เมนูอาหาร ยอดนิยมสำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ สุดยอดอาหารไทย คือ แกงเขียวหวาน เมนูอาหารทะเล ที่มี กุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก ลงไปด้วย เอาใจคนชอบ อาหารทะเล เคล็ดลับการทำแกงเขียวหวานทะเล คือ วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหาร การปรุงรสชาติ สูตรแกงเขียวหวานทะเล ส่วนผสมและขั้นตอนการทำเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร
ส่วนผสมสำหรับทำแกงเขียวหวานทะเล
  • เนื้อปลาหมึกหั่นเป้นชิ้นพอคำ 1 ตัว
  • กุ้ง 5-8 ตัว
  • หอยนางรม 4-5 ตัว
  • พริกแกงเขียวหวาน 2 ช้อนโต้ะ
  • กะทิ 2 ถ้วยตวง
  • ใบโหระพา 2 ช้อนโต้ะ
  • มะเขือเปราะ 2 ลูก โดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  • น้ำซุปไก่ 1 ถ้วยตวง
  • น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
  • พริกชี้ฟ้าแดงหั่น 2 เม็ด
  • ใบมะกรูดหั่น 4 ใบ
วิธีทำแกงเขียวหวานทะเล
  1. ล้างปลาหมึก กุ้ง และหอยให้สะอาด จากนั้นต้มน้ำให้เดือด นำกุ้ง หอย และปลาหมึกไปลวกให้สุก จากนั้นนำมาพักไว้ก่อน
  2. ตั้งกระทะต้มกะทิจนร้อนประมาณ 3 – 5 นาที จากนั้นใส่เครื่องแกงเขียวหวานลงไปต้มกับกระทิสักพัก
  3. จากนั้นใส่น้ำปลา น้ำตาล ต้ม 1 นาที ใส่มะเขือเปราะที่หั่นไว้แล้ว ใส่น้ำและใส่น้ำซุปไก่ ต้มต่อไปสักพัก
  4. ใส่ใบมะกรูดและใบโหระพา รอจนเดือด จากนั้นจึงปิดไฟ ใส่เนื้อกุ้ง ปลาหมึก และหอยลงไปผสม เสริฟใส่ชามที่เตรียมไว้ อาหารง่ายๆ เมนูแกงเขียวหวาน
เคล็ดลับการทำแกงเขียวหวาน
  • เนื้อสัตว์ที่นำมาทำอาหาร ต้องเป็นเนื้อสัตว์ที่สด ใหม่ จะได้ความหวาน และเนื้อนุ่มๆ สดๆ
  • การล้างทำความสะอาดช่วยให้อาหารไม่มีความคาว
  • อาหารทะเลอย่างกุ้ง หอย ปลาหมึก และเนื้อปลา ให้นำไปลวกก่อน เพื่อเราจะสามารถความคุมความนุ่มของอาหารแต่ละตัวได้ โดยน้ำที่ใช้ในการลวก อย่านำกลับมาใช้ซ้ำ เช่น น้ำลวกกุ้ง พอลวกเสร็จให้เททิ้ง ไม่นำมาลวกปลา หรือ ปลาหมึกอีก เนื่องจากรสชาติจะกลบกันหมด
  • หอยในการเตรียมอาหารเมนูหอยนั้น ในหอยบางชนิด จะอมดินเอาไว้ เราต้องทำให้หอยคายดินก่อน ด้วยการนำหอยไปแช่น้ำไว้ก่อน จากนั้นนำไปต้ม หรือลวกแยกจากอาหาร หากนำไปต้มรวม ท่านอาจได้กินแกงเขียวหวานผสมดินโคลน ก็ได้
แกงเขียวหวาน เป็นอาหารไทย เมนูแกงเขียวหวาน เมนูอาหารยอดนิยม หากท่านเบื่อแกงเขียวหวานไก่ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ให้ลองแกงเขียวหวานทะเล อาหารทะเลมีมากมายหลาเมนู แต่เมนูแกงเขียวหวานทะเล เป็นสูตรอาหารที่ไม่เหมือนใคร ท้าให้ลอง



ต้มยำรวมมิตร อาหารไทย เมนูแกง แบบง่ายๆพร้อมวิธีทำ


ต้มยำรวมมิตร อาหารไทย เมนูแกง หอมอร่อยถึงใจ วิธีทำต้มยำรวมมิตรทะเล ง่ายๆ สามารถทำกินเองที่บ้านได้ ต้มยำทำอย่างไรให้อร่อย เมนูต้มยำ อาหารทะเล สำหรับคนชอบอาหารจัดจ้าน กับข้าวง่ายๆ มิตรทะเล สูตรอาหารยอดนิยม
ต้มยำทะเล ต้มยำรวมมิตร อาหารไทย เมนูแกง
อาหารยอดนิยม เมนูแนะนำสำหรับวันนี้ เป็น อาหารสุขภาพ เมนูสมุนไพร คือ ต้มยำรวมมิตรทะเล เคล็ดลับการทำต้มยำ อยู่ที่น้ำซุป การต้มเครื่องต้มยำ ให้ได้กลิ่นของสมุนไพรอย่างเต็มที่ รสชาติถูกปรุงอย่างพอดี เนื้อสัตว์ไม่คาว เมนูอาหารไทย ยอดนิยม ที่มีสมุนไพรหลากหลายชนิด ทั้ง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก ช่วยบำรุงสุขภาพ ขับเหงื่อ ช่วยให้เลือดลมดี เคล็ดลับการทำต้มยำ มีหลายส่วนเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ การเตรียมอาหาร การทำต้มยำ ล้วนแล้วแต่เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้ต้มยำอร่อย
ส่วนผสมสำหรับทำต้มยำรวมมิตรทะเล
  • กุ้งสด 2 – 3 ตัว
  • ปลาหมึก หั่นเป็นชิ้น 1 ตัว
  • ปลาทะเล เป็นชิ้นพอคำ 2 – 3 ชิ้น
  • หอยแมลงภู่ 3 – 4 ตัว
  • ไข่ต้ม 1 ฟอง
  • น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต้ะ
  • น้ำปลา 2 ช้อนโต้ะ
  • น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต้ะ
  • น้ำมะนาว 1 ช้อนโต้ะ
  • พริกสด 1 ช้อนโต้ะ
  • นมค้นจืด 1 ช้อนโต้ะ
  • ใบมะกรูด 3 ใบ
  • น้ำซุปหมู 2 ถ้วย
  • ข่า หั่นเป็นชิ้น 2 – 3 ชิ้น
  • ตะไคร้ หั่นเป็นท่อน 2 – 3 ชิ้น
  • หอมแดง ผ่าครึ่ง 2 ลูก
  • ผักชีฝรั่ง ซอยหยาบ 2 ช้อนโต้ะ
วิธีทำต้มยำรวมมิตรทะเล
  1. ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นนำกุ้ง ปลา ปลาหมึก และหอยลงไปลวกให้สุก จากนั้นพักไว้ก่อน ความอร่อยของต้มยำทะเล อยู่ที่เนื้อสัตว์สุกเท่ากันทุกประเภท ดังนั้นการนำเนื้อสัตว์มาลวกก่อน จะทำให้เนื้อสัตว์ทุกประเภทที่นำมาทำสุกเท่ากัน ทำให้ไม่เสียรสชาติของอาหารทะเล
  2. ต้มน้ำซุปหมู จากนั้นใส่ ข่า ตะไคร้ หอมแดง และใบมะกรูด(ฉีกใบไม่เอาแกนใบ) ต้มด้วยไฟอ่อนๆ ให้ได้กลิ่นหอมของสมุนไพรออกมาก่อน
  3. ปรุงรสด้วย พริกสด น้ำปลา น้ำมะขามเปียก และพริกเผา จากนั้นเร่งไฟให้แรงขึ้น
  4. ใส่ผักชีฝรั่งลงไป ใส่ กุ้ง ปลา หอย ปลาหมึก และปิดไฟ จากนั้นเติมนมข้นจืด และน้ำมะนาวลงไป ชิมรสชาติและแต่งรสชาติตามใจชอบ
  5. เสริฟต้มยำรวมมิตรทะเล วางไข่ต้มด้านบน กับข้าวไทย เมนูสุขภาพ อาหารจานเดียว
เคล็ดลับการทำต้มยำรวมมิตรทะเล
  • อาหารทะเล ให้เลือกส่วนของอาหารที่สดใหม่ อาหารที่สด ใหม่ จะทำให้อาหารมีเนื้อแน่นและหวานอร่อยแบบธรรมชาติ
  • กุ้งในการทำกุ้งให้อร่อย ให้ต้มน้ำร้อนอย่าให้นานเกินไป เนื่องจากเนื้อกุ้งหากต้มนานเกินไป เนื้อกุ้งจะแข็ง และทำให้เนื้อกุ้งไม่อร่อย
  • หอย ในการเตรียมอาหารเมนูหอย นั้นให้แช่น้ำก่อน ให้หอยคลายโคลนออกมาก่อน และการลวกหอยให้ลวกให้พอดี อย่าลวกนานเกินไป เนื้อหอยจะแห้งและแข็งเกินไป
  • เนื้อปลา ให้ล้างให้สะอาด และลวกเนื้อปลาให้พอดี หากลวกนานเกินไปเนื้อปลาจะเละ หากลวกน้อยเกินไป เนื้อปลาจะไม่สุก
  • ไข่ต้มยางมะตูม ให้ใช้ไข่เป็ด ต้มในความร้อนและเวลาที่เหมาะสม จะได้ไข่ยางมะตูมที่อร่อย
  • เทคนิคการปลอกเปลือกไข่ต้ม ให้นำไข่ต้มไปแช่เย็นก่อน ให้เลือกไข่แยกตัวกับเนื้อไข่ขาวก่อนจะได้ปลอกง่าย
  • พริกสดในการทำต้มยำ ให้เลือกใช้พริกขี้หนูสวนผสมกับพริหชี้ฟ้า จะให้สีสันและรสเผ็ดที่พอดี
  • น้ำซุปที่ใช้ในการทำต้มยำ ให้ใช้น้ำซุปกระดูก จะได้ความหวานกลมกล่อมมากกว่าน้ำเปล่า
  • ให้ลวกเนื้อ และ อาหารทะเล ต่างหาก เพื่อให้เราสามารถดูความสุกของเนื้อที่เหมาะสม หากใส่ทุกอย่างลงไปต้มเลย อาหารแต่ละตัวสุกไม่ตรงกัน บางอย่างสุก แต่บางอย่างอาจไม่สุก หรือ สุกมากเกินไป การลวกแยก และเมื่อปรุงรสต้มยำเสร็จ ค่อยใส่เนื้อลงไปในต้มยำ จะได้ต้มยำที่เนื้ออร่อย
สูตรต้มยำรวมมิตรทะเล เป็นสูตรอาหาร ง่ายๆ ส่วนผสมและขั้นตอนการทำ หาง่าย และเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ ชอบต้มยำเป็นพิเศษ วิธีทำต้มยำรวมมิตรทะเล ต้มยำทำอย่างไรให้อร่อย อาหารไทยยอดนิยม เมนูต้มยำ เป็นเมนูต้มยำ ที่ใส่อาหารทะเล ลงในต้มยำ สำหรับคนชอบอาหารทะเล ที่รวมทั้ง เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูหอย เมนูปลา เมนูไข่ เป็นต้มยำ กับข้าวง่ายๆ รสชาติดี




ผัดสุกี้แห้งทะเล อาหารจานเดียว เมนูผัด เมนูทะเล


วิธีทำผัดสุกี้แห้งทะเล อาหารจานเดียว เมนูผัด สุกี้แห้ง อาหารทะเล กุ้ง หอย ปลาหมึก มาผัด กับผัก และ ราดน้ำจิ้มสุกี้เต้าหู้ยี้ สุกี้แห้งทำอย่างไร สุกี้แห้งทะเล อาหารไทย
ผัดสุกี้แห้ง อาหารไทย อาหารจานเดียว เมนูผัด
อาหารยอดนิยมสำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ อาหารจานเดียว เมนูผัด เป็น อาหารอร่อยๆ เมนูเส้น คือ ผัดสุกี้แห้งทะเล เคล็ดลับความอร่อย อยู่ที่ น้ำจิ้มเต้าเจี้ยวสูตรพิเศษ และ เทคนิคการผัดอาหาร วิธีทำสุกี้แห้ง สุกี้แห้งทะเล สุกี้ทะเลแห้ง สุกี้ทำอย่างไร สุกี้แห้งทำอย่างไร วุ้นเส้นทำอะไรกินได้บ้าง อาหารทะเลทำอะไรกินได้บ้าง สอนทำอาหาร สอนทำสุกี้ เมนูเส้น เมนูผัด เมนูกุ้ง เมนูปลา เมนูปลาหมึก สูตรสุกี้แห้งทะเล อาหารไทย เมนูอาหารจานเดียว สามารถหากินได้ที่ ร้านอาหารตามสั่ง ทั่วไป ส่วนผสมและขั้นตอนการทำ เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับ คนรักการทำอาหาร เมนูสุกี้แห้ง
ส่วนผสมสำหรับทำสุกี้ยากี้แห้ง
  • น้ำจิ้มสุกี้ 1 ถ้วยน้ำจิ้ม ดู วิธีทำน้ำจิ้มสุกี้
  • ผักบุ้ง หั่นเป็นชิ้นพอคำ 1 ถ้วย
  • ผักกาดขาว หั่นเป็นชิ้นพอคำ 1 ถ้วย
  • วุ้นเส้น แช่น้ำ 1 ถ้วย
  • ผักคื่นฉ่าย หั่นเป็นชิ้นพอคำ 1 ต้น
  • ต้นหอม หั่นเป็นชิ้นพอคำ 1 ต้น
  • ไข่ไก่ 1 ฟอง
  • ปลาหมึก หั่นเป็นชิ้นพอคำ 1 ตัว
  • กุ้งสด 5-6 ตัว
  • เนื้อปลาลวก 5-6 ชิ้น
  • น้ำมัน 2 ช้อนโต้ะ
วิธีทำสุกี้ยากี้แห้ง
  1. ตั้งกระทะน้ำมันให้ร้อน จากนั้นตอกไข่ลงไปผัด ตามด้วย กุ้ง ปลาหมึก ผัดให้สุก
  2. จากนั้นใส่ ผัก ทั้งหมดและ วุ้นเส้น ลงไปผัด และเติม น้ำจิ้มสุกี้ ลงไปผัดด้วย
  3. ผัดให้ส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นเสริฟใส่จาน โรยหน้าด้วย เนื้อปลาลวก สาเหตุที่ใส่ เนื้อปลาลวก สุดท้ายเพราะว่าถ้านำเนื้อปลาลงไปผัดพร้อมกับส่วนผสมอื่น เนื้อปลา จะเละไม่น่ารับประทาน สุกี้แห้งทะเล
เคล็ดลับการทำสุกี้แห้งทะเล
  • กุ้ง สำหรับ ทำสุกี้แห้ง นั้น ให้เลือกใช้ กุ้งสดๆ ล้างให้สะอาด แกะกระดอง ตักหัว และ ผ่าเส้นที่หลังออก
  • เนื้อกุ้งสุกเร็ว ในการ ผัดกุ้ง นั้นไม่แนะนำให้ผัดนาน เนื่องจากกุ้งจะแข็งไม่น่ารับประทาน
  • ปลาหมึก สำหรับ ทำสุกี้แห้ง นั้น ให้เลือกใช้ ปลาหมึกสดๆ ล้างให้สะอาด หั่นให้มีขนาด พอดีกิน
  • การผัดปลาหมึก นั้นไม่แนะนำให้ผัดนานๆ เนื่องจาก ปลาหมึก หากผัดนาน ปลาหมึกสุกเกินไป เนื้อจะเหนียว และ แข็ง
  • วุ้นเส้น สำหรับ ทำสุกี้แห้ง ใช้ วุ้นเส้นสายฝน เนื้อเหนียว นุ่ม ไม่เละง่าย โดยให้แช่น้ำก่อน ให้เส้น อมน้ำ เวลาผัดจะได้สุกง่าย
  • เนื้อปลา เมื่อสุกแล้ว เนื้อปลาจะเละง่าย ดังนี้ ให้ ลวกปลา เอาไว้ก่อน ไม่ต้องนำไปผัด และวางปลาบนจาน หลังจาก ผัดสุกี้แห้ง เสร็จ
สุกี้แห้ง เป็น อาหารผัดยอดนิยม เมนูอาหารจานเดียว ส่วนผสมและขั้นตอนการทำ ไม่มีความยุ่งยาก หากอยากทำสุกี้แห้งกินเอง ก็เป็นเรื่องง่ายๆ เมื่อมี สูตรสุกี้แห้งทะเล




ห่อหมกมะพร้าวอ่อน อาหารไทย เมนูห่อหมก ปลาช่อนทำอะไรกินได้บ้าง


อาหารไทยยอดนนิยม เมนูนึ่ง อย่าง ห่อหมกมะพร้าวอ่อน สูตรอาหาร เมนูปลาช่อน วิธีทำห่อหมกมะพร้าวอ่อน วิธีทำห่อหมก ปลาช่อนทำอะไรกินได้บ้าง
ห่อหมกมะพร้าวอ่อน อาหารไทย เมนูห่อหมก เมนูนึ่ง
สูตรอาหารแนะนำสำหรับวันนี้ คือ ห่อหมกมะพร้าวอ่อน อาหารไทย เมนูนึ่ง ห่อหมกเป็นอย่างไร ห่อหมกมะพร้าวอ่อน ห่อมกอร่อยๆ เราสอนทำห่อหมก แบบง่ายๆ ห่อหมกมะพร้าวอ่อน เมนูห่อหมก มีสูตรอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ ส่วนผสมและวิธีทำ อย่างละเอียด ห่อหมก ห่อหมกทะเลมะพร้าวอ่อน ถือเป็นอีกหนึ่ง เมนูอาหารยอดนิยม นำ มะพร้าวอ่อน มาเป็นแม่พิมพ์ห่อหมก ได้ความหอมของเนื้อมะพร้าว จัดว่าเป็นรูปแบบ การทำห่อหมก ที่ต่างออกไปจาก ห่อหมกโดยทั่วไป สูตรห่อหมกมะพร้าวอาหาร อาหารนึ่ง เมนูห่อหมก ยอดนิยม ส่วนผสมและขั้นตอนการทำ เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก เหมาะสำหรับคนรัก การทำอาหาร เมนูนึ่ง เมนูห่อหมก ง่ายๆ
ส่วนผสมสำหรับทำห่อหมกมะหร้าวอ่อน
  • เนื้อปลาช่อน 1 ตัว
  • เนื้อปลากราย 1 ตัว
  • มะพร้าวอ่อน 1 ลูก
  • พริกแกงเผ็ด 5 ช้อนโต้ะ
  • น้ำปลา 2 ช้อนโต้ะ
  • หัวกะทิ 1 ถ้วย
  • หางกะทิ 1 ถ้วย
  • ใบมะกรูดซอย 1 ใบ
  • ใบโหระพา 10 ใบ
  • พริกสดหั่นเฉียง 4 เม็ด
  • ใบยอ 2 ใบ
วิธีทำห่อหมกมะพร้าวอ่อน
  1. เตรียมมะพร้าวโดย ตั้งหัวออกและเอาน้ำมะพร้าวออก เตรียมไ้ก่อน
  2. ผสม ส่วนผสม พริกแกง น้ำปลา หัวกะทิ หางกะทิ ใบมะกรูด พริกสด เนื้อปลากรายและเนื้อปลาช่อน
  3. เอาส่วนผสมทั้งหมดเทลงในลูกมะพร้าวอ่อน โดยให้ใบยอและโหระพาอยู่ด้านล่าง
  4. นำไปนึ่ง 30-45 นาที ตามใจชอบ โดยให้สังเกตุเอาว่าสุกหรือยัง ก็เสริฟรับประทานได้แล้ว กับข้าวง่ายๆตามร้านอาหารไทย
เคล็ดลับการทำห่อหมกมะพร้าวอ่อน
  • เมนูห่อหมกมะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อปลาช่อนเป็นวัตถุดิบในการทำ ขั้นตอนการเตรียมเนื้อปลาช่อนเป็นส่วนสำคัญ ของอร่อย การล้างเนื้อปลาให้สะอาด ไม่ให้เหลือเมือกของปลา เนื่องจากเมือกปลาทำให้อาหารคาว ต้องล้างให้ออกให้หมด
  • การแล่เนื้อปลา ต้องแร่เอาแต่เนื้อไม่ให้มีก้าง ติดมา เนื่องจากห่อหมกถ้ามีก้างปลาอาจติดคอ และทำให้เสียความอร่อยของเมนูห่อหมกไป
  • การหมักเครื่องแกงก่อนนำไปนึ่ง เป็นส่วนสำคัญ ต้องหมักให้ส่วนผสมเข้าเนื้อปลา ถึงจะได้รสห่อหมก



ปลาแซลมอนผัดพะโล้ อาหารง่ายๆ เมนูปลา พร้อมวิธีทำ


พะโล้ปลา เมนูอร่อยๆจากปลา วิธีทำปลาผัดพะโล้ ง่ายๆทำกินเองได้ ปลาทำอะไรกินได้บ้าง พะโล้ทำอย่างไร กับข้าวง่ายๆ เมนูปลา สูตรผัดพะโล้ อาหารที่มากไปด้วยคุณค่า รสชาติ สูตรอาหาร และขั้นตอนการทำอย่างละเอียด
ปลาแซลมอนผัดพะโล้ อาหารเวียดนาม เมนูปลา เมนูพะโล้
สูตรอาหารอร่อยๆ เมนูแนะนำสำหรับวันนี้ ขอเสนอ สูตรพะโล้ ปลาแซลมอนผัดพะโล้ อาหารง่ายๆ กับข้าวจากปลา ส่วนผสมและขั้นตอนการทำ เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร เมนูปลา
ส่วนผสมสำหรับทำปลาแซลมอนผัดพะโล้
  • ผงพะโล้สำเร็จรูป 2 ช้อนโต๊ะ
  • แซลมอนหั่นเป็นชิ้น 1 ถ้วย
  • กระเทียมบด 2 ช้อนชา
  • รากผักชีบด 2 ช้อนชา
  • พริกไทย 1 ช้อนชา
  • น้ำเปล่า 5 ช้อนโต้ะ
  • ซอสน้ำมันหอย 1 ช้อนโต้ะ
  • เห็ดหอมหั่นเป็นชิ้น 5 ชิ้น
  • น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำปลาแซลมอนผัดพะโล้
  1. ตั้งกระทะใส่น้ำมันให้ร้อน เอารากผักชี กระเทียม และ พริกไทย ลงไปผัด
  2. ใส่ เห็ดหอม ลงไปผัดให้สุก ใส่ ซอสน้ำมันหอย ลงไปผัด ตามด้วย เนื้อปลา คลุกเคล้าให้เข้ากัน อย่าทำให้ เนื้อปลาแตก
  3. เสริฟใส่จานพร้อมรับประทาน กับข้าวง่ายๆ เมนูปลา พะโล้
เคล็ดลับการทำปลาแซลมอนผัดพะโล้
  • ปลาแซลมอน ให้เลือกใช้ปลาแซลมอนที่สดใหม่ การสังเกตุ เนื้อปลาแซลมอน สีของเนื้อปลาสีส้ม ลายไขมันเป็นสีขาว เนื้อปลาไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
  • การนำปลาไปผัด นั้น เนื้อปลาแซลมอน สุกง่าย และเนื้อปลาเละง่าย การนำปลามาผัด ต้องใช้ความระมัดระวัง ในการทำอาหาร เนื้อปลาเละ จะไม่น่ารับประทาน
  • การทำผัดพะโล้ เนื้อปลานั้น ให้ ใ่สส่วนผสมทั้งหมด ลงไปผัด ปรุงรสให้เสร็จก่อน แล้วค่อยใส่เนื้อปลาลงไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย จะทำให้ เนื้อปลาไม่แตกเละ
  • กระเทียม ใช้กระเทียมไทย เนื่องจากกระเทียมไทย มีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับนำมาทำพะโล้
  • รากผักชี กระเทียม และ พริกไทย เป็น เหมือนผงปรุงรสชั้นดี เป็น เครื่องแต่งกลิ่น และ รสชาติของอาหาร ให้มีความหอม อร่อย
  • เห็กหอม ให้เลือกใช้ เห็ดหอมแห้ง นำไปแช่น้ำ และหั่นให้มีขนาดพอดี
  • น้ำมัน สำหรับผัด เมนูพะโล้ผัด ไม่ต้องใช้น้ำมันมาก เนื่องจากจะทำให้มันเกินไป

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน


" กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน "





กาพย์เห่ชมเครื่องคาว - หวาน
บทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ 2

ประวัติผู้แต่ง

          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (เจ้าฟ้าชายฉิม) 
     ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐ 
     เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
     เมื่อสมเด็จพระราชบิดาได้ปราบดาภิเษก พระองค์ก็ได้รับพระมหากรุณา
     โปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร 
     ต่อมาได้พระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 
     และได้ราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบแทนพระบรมชนก


    ผลงานของพระพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสืบเนื่องพระราชกรณียกิจ   จากพระบรมชนก ฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งยังทรงมีพระอัฉริยะภาพทางด้านศิลปะ ได้แก่ ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี นาฏศิลป์ และวรรณคดี พระราชนิพนธ์ที่สำคัญ เช่น เสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน (บางตอน) บทละครเรื่อง อิเหนา รามเกียรติ์ สังข์ทอง ฯลฯ      กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากคัมภีร์วุตโตทัย มาจากคำว่า “กวิ” ซึ่งหมายถึงผู้แต่งคำประพันธ์ จึงเรียกงานของกวีว่า “กาพย์” ทั้งนี้กาพย์เริ่มมีตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ กาพย์เห่เรือฉบับเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร โดยรูปแบบการแต่งขึ้นด้วยโคลงสี่ สุภาพ ๑ บทแล้วตามด้วยกาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวนบท หากจบจึงขึ้นตอนใหม่ด้วยโคลงสี่สุภาพอีกครั้งและใช้กาพย์ยานี ๑๑ บรรยายความเช่นเดิม นิยมให้โคลงสี่สุภาพและกาพย์บทแรกมีเนื้อความตรงกัน
 เนื้อเรื่อง
   กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กล่าวถึงลักษณะเด่นของอาหารไทยโบราณชนิดต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนถึงความประณีตในวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทย โดยพระราชนิพนธ์เชื่อมโยงอาหารกับนางผู้เป็นที่รักอย่างกลมกลืนแยบคาย ผู้อ่านจึงได้ความรู้ด้านเรื่องอาหารพร้อมกับความเพลิดเพลินจากบทประพันธ์


ศิลปะการประพันธ์
   
   ๑. มีการกล่าวถึงนางผู้เป็นที่รักอยู่โดยตลอดทั้งเรื่อง เช่น
                                      “ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม              เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
                                    โอชาจะหาไหน                           ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง”

   ๒. มีการแสดงอารมณ์รัก เช่น
                                       “ความรักยักเปลี่ยนท่า               ทำน้ำยาอย่างแกงขม
                                     กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม              ชมมิวายคลับคล้ายเห็น”

   ๓. มีการเล่นคำ เช่น
                                       “ล่าเตียงคิดเตียงน้อง                นอนเตียงทองทำเมืองบน
                                     ลดหลั่นชั้นชอบกล                      ยลอยากนิทรคิดแนบนอน”

   ๔. มีการเล่นเสียงสัมผัสใน ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ เช่น
                                       “เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า               รุมรุ่มเร้าคือไฟฟอน
                                     เจ็บไกลใจอาวรณ์                       ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง”

   ๕. มีการใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบลึกซึ้งกินใจ ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ เช่น
                                       “รังนกนึ่งน่าซด                        โอชารสกว่าทั้งปวง
                                     นกพรากจากรังรวง                      เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน”

   ๖. มีการแทรกความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมในยุคนั้น ๆ เช่น การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ เช่น
                                       “ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ                รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
                                     ใครหุงปรุงไม่เป็น                        เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ” 


ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
   ๑. ให้ความรู้และแสดงถึงความประณีตในการทำอาหารของคนไทยในทุกขั้นตอนจากการพรรณนา
   ๒. ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมยุคสมัยนั้น เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
   ๓. ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมการทำอาหารของคนไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ไม่มีผู้ใดสามารถเลียนแบบได้


   การนำไปใช้ในชีวิตจริง
   ๑. คนไทยตระหนักในคุณค่าทางโภชนาการอาหารไทยที่มีไม่แพ้อาหารนานาชาติ
   ๒. อาหารไทยเป็นเครื่องสื่อความรัก ความห่วงใย และความผูกพันของคนในครอบครัว


สรุป
   กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน แสดงให้เห็นถึงความงามในวัฒนธรรมด้านอาหารการกินของคนไทยที่มีความประณีต ทำให้อาหารแต่ละชนิดมีลักษณะเด่นที่ต่างกันออกไป



ตัวอย่างบทประพันธ์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

• เห่ชมเครื่องคาว 

๏ แกงไก่มัสมั่นเนื้อ                 นพคุณ พี่เอย
หอมยี่หร่ารสฉุน                      เฉียบร้อน
ชายใดบริโภคภุญช์                 พิศวาส หวังนา
แรงอยากยอหัตถ์ข้อน             อกให้หวนแสวง ๚   

๏ มัสมั่นแกงแก้วตา              หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง                แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
๏ ยำใหญ่ใส่สารพัด               วางจานจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้ำปลา                     ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
๏ ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม        เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
โอชาจะหาไหน                     ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
๏ หมูแนมแหลมเลิศรส         พร้อมพริกสดใบทองหลาง
พิศห่อเห็นรางชาง                ห่างห่อหวนป่วนใจโหย
๏ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น             วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย             ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ
๏ เทโพพื้นเนื้อท้อง              เป็นมันย่องล่องลอยมัน
น่าซดรสครามครัน               ของสวรรค์เสวยรมย์ 
๏ ความรักยักเปลี่ยนท่า        ทำน้ำยาอย่างแกงขม
กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม      ชมไม่วายคล้ายคล้ายเห็น
๏ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ         รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
ใครหุงปรุงไม่เป็น                เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ
๏ เหลือรู้หมูป่าต้ม               แกงคั่วส้มใส่ระกำ 
รอยแจ้งแห่งความขำ           ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม 
๏ ช้าช้าพล่าเนื้อสด              ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
คิดความยามถนอม              สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์
๏ ล่าเตียงคิดเตียงน้อง         นอนเตียงทองทำเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล                ยลอยากนิทรคิดแนบนอน
๏ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า       รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลในอาวรณ์                ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง
๏ รังนกนึ่งน่าซด                  โอชารสกว่าทั้งปวง
นกพรากจากรังรวง               เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน
๏ ไตปลาเสแสร้งว่า              ดุจวาจากระบิดกระบวน
ใบโศกบอกโศกครวญ           ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ
๏ ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง       เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน
ผักหวานซ่านทรวงใน             ใคร่ครวญรักผักหวานนาง ๚



• เห่ชมผลไม้

๏ ผลชิดแช่อิ่มโอ้                    เอมใจ
หอมชื่นกลืนหวานใน               อกชู้ 
รื่นรื่นรสรมย์ใด                       ฤๅดุจ นี้แม
หวานเลิศเหลือรู้รู้                    แต่เนื้อนงพาล ๚

๏ ผลชิดแช่อิ่มอบ                   หอมตรลบล้ำเหลือหวาน
รสไหนไม่เปรียบปาน              หวานเหลือแล้วแก้วกลอยใจ
๏ ตาลเฉาะเหมาะใจจริง         รสเย็นยิ่งยิ่งเย็นใจ
คิดความยามพิสมัย                หมายเหมือนจริงยิ่งอยากเห็น 
๏ ผลจากเจ้าลอยแก้ว             บอกความแล้วจากจำเป็น
จากช้ำน้ำตากระเด็น              เป็นทุกข์ท่าหน้านวลแตง
๏ หมากปรางนางปอกแล้ว      ใส่โถแก้วแพร้วพรายแสง
ยามชื่นรื่นโรยแรง                  ปรางอิ่มอาบซาบนาสา
๏ หวนห่วงม่วงหมอนทอง        อีกอกร่องรสโอชา
คิดความยามนิทรา                 อุราแนบแอบอกอร
๏ ลิ้นจี่มีครุ่นครุ่น                    เรียกส้มฉุนใช้นามกร
หวนถวิลลิ้นลมงอน                 ชะอ้อนถ้อยร้อยกระบวน
๏ พลับจีนจักด้วยมีด               ทำประณีตน้ำตาลกวน
คิดโอษฐ์อ่อนยิ้มยวน               ยลยิ่งพลับยับยับพรรณ
๏ น้อยหน่านำเมล็ดออก          ปล้อนเปลือกปอกเป็นอัศจรรย
มือใครไหนจักทัน                   เทียบเทียมที่ฝีมือนาง
๏ ผลเกดพิเศษสด                  โอชารสล้ำเลิศปาง
คำนึงถึงเอวบาง                      สางเกศเส้นขนเม่นสอย
๏ ทับทิมพริ้มตาตรู                 ใส่จานดูดุจเม็ดพลอย
สุกแสงแดงจักย้อย                   อย่างแหวนก้อยแก้วตาชาย
๏ ทุเรียนเจียนตองปู                เนื้อดีดูเหลือเรืองพราย
เหมือนศรีฉวีกาย                    สายสวาทพี่ที่คู่คิด
๏ ลางสาดแสวงเนื้อหอม          ผลงอมงอมรสหวานสนิท
กลืนพลางทางเพ่งพิศ              คิดยามสารทยาตรามา
๏ ผลเงาะไม่งามแงะ               มล่อนเมล็ดและเหลือปัญญา
หวนเห็นเช่นรจนา                   จ๋าเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม
๏ สละสำแลงผล                      คิดลำต้นแน่นหนาหนาม
ท่าทิ่มปิ้มปืนกาม                   นามสละมละเมตตา ๚



• เห่ชมเครื่องหวาน

๏ สังขยาหน้าไข่คุ้น                 เคยมี
แกมกับข้าวเหนียวสี                โศกย้อม
เป็นนัยนำวาที                         สมรแม่ มาแม
แถลงว่าโศกเสมอพ้อม            เพียบแอ้อกอร ๚

๏ สังขยาหน้าตั้งไข่                  ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง
เป็นนัยไม่เคลือบแคลง             แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ
๏ ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำ                แทรกใส่น้ำกะทิเจือ
วิตกอกแห้งเครือ                      ได้เสพหริ่มพิมเสนโรย
๏ ลำเจียกชื่อขนม                    นึกโฉมฉมหอมชวยโชย
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดย                   โหยไห้หาบุหงางาม
๏ มัศกอดกอดอย่างไร               น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ               ขนมนามนี้ยังแคลง 
๏ ลุดตี่นี้น่าชม                          แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง 
โอชาหน้าไก่แกง                       แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
๏ ขนมจีบเจ้าจีบห่อ                   งามสมส่อประพิมพ์ประพาย
นึกน้องนุ่งจีบกราย                     ชายพกจีบกลีบแนบเนียน
๏ รสรักยักลำนำ                         ประดิษฐ์ทำขนมเทียน
คำนึงนิ้วนางเจียน                      เทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม
๏ ทองหยิบทิพย์เทียมทัด           สามหยิบชัดน่าเชยชม
หลงหยิบว่ายาดม                       ก้มหน้าเมินเขินขวยใจ
๏ ขนมผิงผิงผ่าวร้อน                  เพียงไฟฟอนฟอกทรวงใน
ร้อนนักรักแรมไกล                     เมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง 
๏ รังไรโรงด้วยแป้ง                    เหมือนนกแกล้วทำรังรวง
โอ้อกนกทั้งปวง                         ยังยินดีด้วยมีรัง
๏ ทองหยอดทอดสนิท                ทองม้วนมิดคิดความหลัง
สองปีสองปิดบัง                         แต่ลำพังสองต่อสอง
๏ งามจริงจ่ามงกุฏ                    ใส่ชื่อดุจมงกุฏทอง
เรียมร่ำคำนึงปอง                       สะอิ้งน้องนั้นเคยยล 
๏ บัวลอยเล่ห์บัวงาม                  คิดบัวกามแก้วกับตน
ปลั่งเปล่งเคร่งยุคล                    สถนนุชดุจประทุม
๏ ช่อม่วงเหมาะมีรส                  หอมปรากฏกลโกสุม
คิดสีสไลคลุม                            หุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน
๏ ฝอยทองเป็นยองใย                เหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์             เย็บชุนใช้ไหมทองจีน ๚

จากหนังสือ : ประชุมกาพย์เห่เรือ กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

ชนิดของคำไทย 7 ชนิด


ชนิดของคำ 7 ชนิด


คำไทยแบ่งออกเป็น 7 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันออกไป การเรียนรู้เรื่องลักษณะของคำเพื่อสร้างเป็นกลุ่มคำ    และประโยคเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนและการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

        คำแต่ละคำมีความหมาย ความหมายของคำจะปรากฏชัดเมื่ออยู่ในประโยค การสังเกตตำแหน่งและหน้าของคำในประโยคจะช่วยให้เราทราบชนิดของคำรวมทั้งความหมายด้วย ดังนั้นการศึกษาให้เข้าใจหน้าที่และชนิดของคำในประโยคจึงมีความสำคัญมากเพราะจะช่วยให้เราสามารถใช้คำได้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ

        ในการใช้ภาษาจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทราบว่าคำไนมีที่ใช้อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร นักไวยากรณ์ได้สังเกตความหมายและหน้าที่ของคำในประโยค  แล้วจึงแบ่งคำในภาษาไทยออกเป็นชนิดได้ 7 ชนิด คือ    
                 1. คำนาม
                 2. คำสรรพนาม
                 3. คำกริยา
                 4. คำวิเศษณ์
                 5. คำบุพบท
                 6. คำสันธาน
                 7. คำอุทาน




คำนาม

ความหมายของคำนาม
   คำนามหมายถึง  คำที่ใช้เรียกชื่อ  คน  สัตว์  พืช  สิ่งของ  สถานที่  สภาพ  อาการ  ลักษณะ  ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต  หรือสิ่งไม่มีชีวิต  ทั้งที่เป็นรูปธรรม  และนามธรรม  เช่นคำว่า  คน   ปลา  ตะกร้า   ไก่  ประเทศไทย  จังหวัดพิจิตร  การออกกำลังกาย  การศึกษา  ความดี  ความงาม  กอไผ่  กรรมกร  ฝูง  ตัว  เป็นต้น   

ชนิดของคำนาม

             คำนามแบ่งออกเป็น  ๕  ชนิด  ดังนี้ 

 ๑.  สามานยนาม หรือเรียกว่า  คำนามทั่วไป  คือ  คำนามที่เป็นชื่อทั่วๆ ไป  เป็นคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง  เช่น  ปลา  ผีเสื้อ  คน   สุนัข   วัด   ต้นไม้   บ้าน   หนังสือ  ปากกา  เป็นต้น

 ๒.  วิสามานยนาม  หรือเรียกว่า  คำนามเฉพาะ  คือ คำนามที่ใช้เรียกชื่อเฉาะของคน  สัตว์ หรือสถานที่  เป็นคำเรียนเจาะจงลงไปว่า เป็นใครหรือเป็นอะไร  เช่น  พระพุทธชินราช  เด็กชายวิทวัส  จังหวัดพิจิตร วัดท่าหลวง  ส้มโอท่าข่อย  พระอภัยมณี  วันจันทร์  เดือนมกราคม เป็นต้น

 ๓.  สมุหนาม  คือ คำนามที่ทำหน้าที่แสดงหมวดหมู่ของคำนามทั่วไป  และคำนามเฉพาะ  เช่น  ฝูงผึ้ง กอไผ่  คณะนักทัศนาจร  บริษัท  พวกกรรมกร  เป็นต้น

 ๔. ลักษณะนาม  คือ  เป็นคำนามที่บอกลักษณะของคำนาม  เพื่อแสดงรูปลักษณะ  ขนาด ปริมาณ  ของคำนามนั้นนั้นให้ชัดเจน  เช่น  บ้าน  ๑  หลัง  โต๊ะ  ๕  ตัว  คำว่า หลัง  และ  ตัว  เป็นลักษณะนาม

 ๕.  อาการนาม  คือ คำนามที่เป็นชื่อกริยาอาการ  เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม  ไม่มีรูปร่าง  มักมีคำว่า  "การ"  และ  "ความ"  นำหน้า  เช่น  การกิน  การเดิน  การพูด  การอ่าน  การเขียน ความรัก  ความดี  ความคิด  ความฝัน  เป็นต้น

หน้าที่ของคำนาม  มีดังนี้คือ

๑.  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น

                   - ประกอบชอบอ่านหนังสือ                   -  ตำรวจจับผู้ร้าย

๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ  เช่น

                  -  วารีอ่านจดหมาย                               -  พ่อตีสุนัข

๓.  ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น  เช่น

                  -  สมศรีเป็นข้าราชการครู                     -  นายสมศักดิ์ทนายความฟ้องนายปัญญาพ่อค้า

.ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น

                  -  ศรรามเป็นทหาร                               -  เขาเป็นตำรวจแต่น้องสาวเป็นพยาบาล

๕. ใช้ตามหลังคำบุพบทเพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขี้น
      เช่น
                  -  คุณแม่ของเด็กหญิงสายฝนเป็นครู      -  นักเรียนไปโรงเรียน

๖. ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น เช่น

                  -  คุณพ่อจะไปเชียงใหม่วันเสาร์             -  เขาชอบมาตอนกลางวัน

๗.  ใช้เป็นคำเรียกขานได้ เช่น

                  -  น้ำฝน ช่วยหยิบปากกาให้ครูทีซิ         -  ตำรวจ ช่วยฉันด้วย



คำสรรพนาม

ความหมายของคำสรรพนาม
 คำสรรพนาม  หมายถึง  คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก  เช่นคำว่า  ฉัน  เรา  ดิฉัน  กระผม  กู คุณ  ท่าน  ใต้เท้า  เขา  มัน  สิ่งใด  ผู้ใด  นี่  นั่น  อะไร  ใคร  บ้าง เป็นต้น

ชนิดของคำสรรพนาม

 คำสรรพนามแบ่งออกเป็น  ๖  ชนิด ดังนี้

๑.  บุรษสรรพนาม  คือ  คำ  สรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด  แบ่งเป็นชนิดย่อยได้  3  ชนิด  คือ

 ๑.๑  สรรพนามบุรุษที่ ๑  ใช้แทนตัวผู้พูด  เช่น ผม  ฉัน  ดิฉัน  กระผม  ข้าพเจ้า  กู  เรา  ข้าพระพุทธเจ้า  อาตมา  หม่อมฉัน เกล้ากระหม่อม

 ๑.๒  สรรพนามบุรุษที่ ๒  ใช้แทนผู้ฟัง หรือผู้ที่เราพูดด้วย  เช่น  คุณ  เธอ  ใต้เท้า  ท่าน  ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฝ่าพระบาท  พระคุณเจ้า

 ๑.๓  สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง  เขา  มัน  ท่าน  พระองค์

๒.  ประพันธสรรพนาม  คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามและใช้เชื่อมประโยคทำหน้าที่เชื่อมประโยคให้มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่คำว่า  ที่  ซึ่ง  อัน  ผู้ 

๓.  นิยมสรรพนาม  คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามชี้เฉพาะเจาะจงหรือบอกกำหนดความให้ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจกัน ได้แก่คำว่า  นี่  นั่น  โน่น

๔.  อนิยมสรรนาม  คือ สรรพนามใช้แทนนามบอกความไม่ชี้เฉพาะเจาะจงที่แน่นอนลงไป  ได้แก่คำว่า  อะไร  ใคร ไหน  ได  บางครั้งก็เป็นคำซ้ำๆ  เช่น  ใครๆ  อะไรๆ  ไหนๆ 

๕.  วิภาคสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม  ซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้นจำแนกออกเป็นหลายส่วน  ได้แก่คำว่า  ต่าง  บ้าง  กัน เช่น

        -  นักเรียน"บ้าง"เรียน"บ้าง"เล่น         -  นักเรียน"ต่าง"ก็อ่านหนังสือ

๖.  ปฤจฉาสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนนามที่เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า  อะไร  ใคร  ไหน  ผู้ใด  สิ่งใด  ผู้ใด  ฯลฯ  เช่น

        -  "ใคร" ทำแก้วแตก                             -  เขาไปที่ "ไหน"

หน้าที่ของคำสรรพนาม  มีดังนี้คีอ

๑.  เป็นประธานของประโยค เช่น

                   -  "เขา"ไปโรงเรียน                        -  "ใคร"ทำดินสอตกอยู่บนพื้น

๒.  ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค (ผู้ถูกกระทำ)  เช่น

                   -  ครูจะตี"เธอ"ถ้าเธอไม่ทำการบ้าน       -  คุณช่วยเอา"นี่"ไปเก็บได้ไหม

๓. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนสมบูรณ์  เช่น

                   -  กำนันคนใหม่ของตำบลนี้คือ"เขา"นั่นเอง     -   เขาเป็น"ใคร"

๔. ใช้เชื่อมประโยคในประโยคความซ้อน  เช่น

                    -  ครูชมเชยนักเรียน"ที่"ขยัน

๕. ทำหน้าที่ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เพื่อเน้นการแสดงความรู้สึกของผู้       พูด จะวางหลังคำนาม

                   - ไปเยี่ยมคุณปู่"ท่าน"มา




คำกริยา

ความหมายของคำกริยา

 คำกริยา  หมายถึง  คำแสดงอาการ  การกระทำ  หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม  เพื่อให้ได้ความ  เช่นคำว่า  กิน  เดิน  นั่ง นอน  เล่น  จับ  เขียน  อ่าน  เป็น  คือ  ถูก  คล้าย  เป็นต้น
ชนิดของคำกริยา

 คำกริยาแบ่งเป็น  ๕  ชนิด

๑.  อกรรมกริยา  คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์  เข้าใจได้  เช่น
            -  เขา"ยืน"อยู่                      -  น้อง"นอน"

๒.  สกรรมกริยา  คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ  เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น

            -  ฉัน "กิน"ข้าว           (ข้าวเป็นกรรมที่มารับคำว่ากิน)

            -  เขา"เห็น"นก           (นกเป็นกรรมที่มารับคำว่าเห็น)

๓.  วิกตรรถกริยา  คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง  ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ  คำกริยาพวกนี้คือ  เป็น  เหมือน  คล้าย  เท่า คือ  เช่น

            -  เขา"เป็น"นักเรียน                     -  เขา"คือ"ครูของฉันเอง

๔.  กริยานุเคราะห์  คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น  ได้แก่คำว่า จง  กำลัง  จะ  ย่อม  คง  ยัง  ถูก  นะ  เถอะ  เทอญ ฯลฯ  เช่น

            -  นายดำ"จะ"ไปโรงเรียน                       -  เขา"ถูก"ตี

๕.  กริยาสภาวมาลา  คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนามจะเป็นประธาน  กรรม  หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น

             -  "นอน"หลับเป็นการพักผ่อนที่ดี                 (นอน เป็นคำกริยาที่เป็นประธานของประโยค)

             -  ฉันชอบไป"เที่ยว"กับเธอ                         (เที่ยว เป็นคำกริยาที่เป็นกรรมของประโยค)

หน้าที่ของคำกริยามีดังนี้คือ

๑. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค  เช่น

                  -  ขนมวางอยู่บนโต๊ะ                             -  นักเรียนอ่านหนังสือทุกวัน

๒.  ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น

                  -  วันเดินทางของเขาคือวันพรุ่งนี้         ("เดินทาง"  เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำนาม "วัน")

๓.  ทำหน้าที่ขยายกริยา เช่น

                  -  เด็กคนนั้นนั่งดูนก     ("ดู" เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำกริยา "นั่ง")

๔.  ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น

                 -  ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง   ("ออกกำลังกาย"  เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)

                 -  เด็กชอบเดินเร็วๆ           ("เดิน"  เป็นคำกริยา  ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)



คำวิเศษณ์


ความหมายของคำวิเศษณ์

 คำวิเศษณ์  หมายถึง คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม  สรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น  เช่น

        -   คนอ้วนกินจุ     ("อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนาม "คน" "จุ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "กิน")

        -   เขาร้องเพลงได้ไพเราะ     ("ไพเราะ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "ร้องเพลง")

        -  เขาร้องเพลงได้ไพเราะมาก     ("มาก" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำวิเศษณ์  "ไพเราะ")

ชนิดของคำวิเศษณ์

 คำวิเศษณ์แบ่งออกเป็น  ๑๐  ชนิด ดังนี้

๑.  ลักษณะวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น  บอกชนิด  สี  ขนาด  สัณฐาน  กลิ่น  รส บอกความรู้สึก  เช่น  ดี  ชั่ว  ใหญ่  ขาว  ร้อน  เย็น  หอม  หวาน  กลม  แบน เป็นต้น  เช่น

          -  น้ำร้อนอยูในกระติกสีขาว           -  จานใบใหญ่ราคาแพงกว่าจานใบเล็ก

๒.  กาลวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา  เช่น  เช้า  สาย  บ่าย  เย็น  อดีต  อนาคต  เป็นต้น เช่น

          -  พรุ่งนี้เป็นวันเกิดของคุณแม่         -  เขามาโรงเรียนสาย

๓.  สถานวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่  เช่น ใกล้ ไกล  บน  ล่าง  เหนือ ใต้  ซ้าย ขวา  เป็นต้น เช่น
          

           -  บ้านฉันอยู่ไกลตลาด                -  นกอยู่บนต้นไม้

๔.  ประมาณวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ  เช่น  หนึ่ง  สอง  สาม  มาก  น้อย  บ่อย  หลาย บรรดา  ต่าง  บ้าง  เป็นต้น  เช่น

           -  เขามีเงินห้าบาท                      -  เขามาหาฉันบ่อยๆ

๕.  ประติเษธวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ  หรือไม่ยอมรับ  เช่น  ไม่  ไม่ใช่  มิ  มิใช่  ไม่ได้ หามิได้  เป็นต้น  เช่น

            -  เขามิได้มาคนเดียว                   -  ของนี้ไม่ใช่ของฉัน ฉันจึงรับไว้ไม่ได้

๖.  ประติชญาวิเศษณ์  คือ  คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ค่ะ เป็นต้น เช่น
           

             -  คุณครับมีคนมาหาขอรับ             -  คุณครูขา  สวัสดีค่ะ

๗.  นิยมวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี้ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น  แน่นอน เป็นต้น เช่น

           -  บ้านนั้นไม่มีใคราอยู่                    -  เขาเป็นคนขยันแน่ๆ

๘.  อนิยมวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่น ไหน อะไร ใคร ฉันใด เป็นต้น เช่น

           -  เธอจะมาเวลาใดก็ได้                   -  คุณจะนั่งเก้าอื้ตัวไหนก็ได้

๙. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย  เช่น ใด  ไร  ไหน อะไร  สิ่งใด  ทำไม เป็นต้น  เช่น

           -  เสื้อตัวนี้ราคาเท่าไร                     -  เขาจะมาเมื่อไร

๑๐.  ประพันธวิเศษณ์  คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นคำว่า ที่ ซึ่ง  อัน  อย่าง  ที่ว่า  เพื่อว่า  ให้  เป็นต้น  เช่น

           -  เขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้มีเงินมาก            -  เขาทำความดี อัน หาที่สุดมิได้

หน้าที่ของคำวิเศษณ์  มีดังนี้คือ

๑.  ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น

          -  คนอ้วนกินจุ        ( "อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "คน")

          -  ตำรวจหลายคนจับโจรผู้ร้าย   ("หลาย" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "ตำรวจ")

๒.  ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น

          -  เราทั้งหมดช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย   ("ทั้งหมด" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "เรา")

          -  ฉันเองเป็นคนพูด   ( "เอง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "ฉัน")

๓.  ทำหน้าที่ขยายกริยา  เช่น

                  -  เด็กคนนั้นนั่งดูนก     ("ดู"  เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำกริยา "นั่ง")

๔.  ทำหน้าที่เหมือนคำนาม  เช่น

                 -  ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง   ("ออกกำลังกาย"  เป็นคำกริยา  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)

                 -  เด็กชอบเดินเร็วๆ     ("เดิน"  เป็นคำกริยา  ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)

๕. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดง  เช่น

          -  เธอสูงกว่าคนอื่น              -  ขนมนี้อร่อยดี




คำบุพบท

ความหมายของคำบุพบท

 คำบุพบท  หมายถึง คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด เช่น  กับ  แก่  แต่  ต่อ  ด้วย  โดย  ตาม  ข้าง  ถึง  จาก  ใน  บน  ใต้  สิ้น สำหรับ  นอก  เพื่อ  ของ  เกือบ  ตั้งแต่ แห่ง  ที่  เป็นต้น เช่น

 -เขามาแต่เช้า     -บ้านของคุณน่าอยู่จริง      - คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน      - เขาให้รางวัลเฉพาะคนที่สอบได้ที่หนึ่ง

 คำบุพบทแบ่งออกเป็น  ๒  ชนิด

๑. คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม  คำสรรพนามกับคำนาม  คำนามกับคำกริยา  คำสรรพนามกับคำสรรพนาม  คำสรรพนามกับคำกริยา คำกริยากับคำนาม  คำกริยากับคำสรรพนาม  คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการให้ชัดเจน  เช่น

 ๑.๑ บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ  เช่น       -  พ่อซื้อสวนของนายทองคำ        (นามกับนาม)
 ๑.๒ บอกความเกี่ยวข้อง  เช่น         -  เขาเห็นแก่กิน    (กริยากับกริยา)
 ๑.๓ บอกการให้และบอกความประสงค์  เช่น         -  คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน    (นามกับสรรพนาม)
 ๑.๔  บอกเวลา เช่น      -  เขามาตั้งแต่เช้า   (กริยากับนาม)
 ๑.๕  บอกสถานที่ เช่น     -  เขามาจากต่างจังหวัด   (กริยากับนาม)
 ๑.๖  บอกความเปรียบเทียบ เช่น     -  พี่หนักกว่าฉัน   (กริยากับสรรพนาม)


๒. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น  ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย  มักใช้ในคำประพันธ์  เช่นคำว่า  ดูก่อน  ข้าแต่  ดูกร คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำสรรพนามหรือคำนาม  เช่น

          -  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย      -  ข้าแต่ท่านทั้งหลายโปรดฟังข้าพเจ้า

คำสันธาน

ความหมายของคำสันธาน

 คำสันธาน  หมายถึง  คำที่ใช้เชื่อมประโยค หรือข้อความกับข้อความ  เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม  กระชับและสละสลวย  เช่นคำว่า และ  แล้ว  จึง  แต่  หรือ  เพราะ  เหตุเพราะ  เป็นต้น เช่น

                                    -  เขาอยากเรียนหนังสือเก่งๆ แต่เขาไม่ชอบอ่านหนังสือ

                                    -  เขามาโรงเรียนสายเพราะฝนตกหนัก

 คำสันธานแบ่งเป็น  ๔  ชนิด ดังนี้

๑. คำสันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน  ได้แก่คำว่า  และ  ทั้ง...และ  ทั้ง...ก็ ครั้น...ก็  ครั้น...จึง  ก็ดี  เมื่อ...ก็ว่า  พอ...แล้ว เช่น

               -  ทั้งพ่อและแม่ของผมเป็นคนใต้

               -  พอทำการบ้านเสร็จแล้วฉันก็นอน

๒. คำสันธานที่เชื่อมความขัดแย้งกัน  เช่นคำว่า  แต่  แต่ว่า  กว่า...ก็  ถึง...ก็ เป็นต้น  เช่น

               -  ผมต้องการพูดกับเขา แต่เขาไม่ยอมพูดกับผม

               -   กว่าเราจะเรียนจบเพื่อนๆ ก็ทำงานหมดแล้ว

๓. คำสันธานที่เชื่อมข้อมความให้เลือก  ได้แก่คำว่า  หรือ  หรือไม่  ไม่...ก็ หรือไม่ก็  ไม่เช่นนั้น  มิฉะนั้น...ก็  เป็นต้น  เช่น

               -  นักเรียนชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือภาษาไทย

               -  เธอคงไปซื้อของหรือไม่ก็ไปดูหนัง

๔ คำสันธานที่เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผล  ได้แก่คำว่า  เพราะ  เพราะว่า ฉะนั้น...จึง  ดังนั้น  เหตุเพราะ  เหตุว่า  เพราะฉะนั้น...จึง  เป็นต้น เช่น

               -  นักเรียนมาโรงเรียนสายเพราะฝนตกหนัก

               -  เพราะวาสนาไม่ออกกำลังกายเธอจึงอ้วนมาก

 หน้าที่ของคำสันธาน  มีดังนี้คือ

๑.  เชื่อมประโยคกับประโยต เช่น

                -  เขามีเงินมากแต่เขาก็หาความสุขไม่ได้

                -  พ่อทำงานหนักเพื่อส่งเสียให้ลูกๆ ได้เรียนหนังสือ

                -  ฉันอยากได้รองเท้าที่ราคาถูกและใช้งานได้นาน

๒.  เชื่อมคำกับคำหรือกลุ่มคำ เช่น

                -  สมชายลำบากเมื่อแก่

                -  เธอจะสู้ต่อไปหรือยอมแพ้

                -  ฉันเห็นนายกรัฐมนตรีและภริยา

๓.  เชื่อมข้อความกับข้อความ เช่น

                -  ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่เมืองไทย เขาขยันหมั่นเพียรไม่ยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เขาจึงร่ำรวย จนเกือบจะซื้อแผ่นดินไทยได้ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้นขอให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลายจงตื่นเถิด จงพากันขยันทำงานทุกชนิดเพื่อจะได้รักษาผืนแผ่นดินของไทยไว้



คำอุทาน

ความหมายของคำอุทาน

             คำอุทาน  หมายถึง  คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ  ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด  เช่นคำว่า  อุ๊ย  เอ๊ะ  ว้าย  โธ่  อนิจจา  อ๋อ  เป็นต้น  เช่น

                      -  เฮ้อ!  ค่อยยังชั่วที่เขาปลอดภัย

                      -  เมื่อไรเธอจะตัดผมตัดเผ้าเสียทีจะได้ดูเรียบร้อย

 คำอุทานแบ่งเป็น  ๒  ชนิด ดังนี้


๑.  คำอุทานบอกอาการ  เป็นคำอุทานที่แสดงอารมณ์  และความรู้สึกของผู้พูด  เช่น

               ตกใจ             ใช้คำว่า         วุ้ย  ว้าย  แหม  ตายจริง

               ประหลาดใจ    ใช้คำว่า         เอ๊ะ  หือ  หา

               รับรู้ เข้าใจ      ใช้คำว่า         เออ  อ้อ  อ๋อ

              เจ็บปวด           ใช้คำว่า         โอ๊ย  โอย  อุ๊ย

              สงสาร เห็นใจ   ใช้คำว่า         โธ๋  โถ  พุทโธ่   อนิจจา

              ร้องเรียก          ใช้คำว่า         เฮ้ย   เฮ้   นี่

              โล่งใจ              ใช้คำว่า         เฮอ  เฮ้อ

              โกรธเคือง        ใช้คำว่า         ชิชะ   แหม





๒.  คำอุทานเสริมบท เป็นคำอุทานที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือคำเสริมบทต่างๆ คำอุทานประเภทนี้บางคำเสริมคำที่ไม่มีความหมายเพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป บางคำก็เพื่อเน้นคำให้กระชับหนักแน่น  เช่น

               -  เดี๋ยวนี้มือไม้ฉันมันสั่นไปหมด

               -  หนังสือหนังหาเดี๋ยวนี้ราคาแพงมาก

               -  พ่อแม่ไม่ใช่หัวหลักหัวตอนะ



กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

" กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน " กาพย์เห่ชมเครื่องคาว - หวาน บทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารั...