วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เทคโนโลยีทางการศึกษา



เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)



ความหมายของเทคโนโลยี

          กู๊ดGood.1963.492  ให้ความหมายว่า  เทคโนโลยีในพจนานุกรมทางการศึกษา (DictionaryofEducational) หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ

เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ


          สมาน (2517 : 17 ) ได้กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้และระเบียบ วิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
         สวัสดิ์ (2517 : 1 ) ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ  ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในระบบงานในทางที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากและมีประสิทธิภาพสูง

         สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ ความคิด และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในรูปของการจัดระบบงานใช้ในงานสาขาต่าง ๆ อย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด


ความหมายเทคโนโลยีการศึกษา

          กู๊ด (Good, 1963 :592 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือของระบบการสอนเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
          เคนเนท (Kencth,1955 : 128 ) เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          สรุปได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาหมายถึงการนำความรู้ความคิดและวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาในการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
 


ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีต่อการศึกษา


เสาวนีย์ (2528 : 9 –10 ) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ทางคณะกรรมาธิการด้านเทคโนโลทางการศึกษา แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology ) 
สรุปว่าเทคโนโลยีทางการศึกษามีความสำคัญต่อการศึกษา ดังนี้
     
    1. เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การเรียนการสอนและการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น นั่นเอง การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้ในการศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางยิ่งขึ้นเรียนได้เร็วขึ้นได้เห็นและได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนได้อย่างเข้าใจและยังทำให้ครูมีเวลาให้กับผู้เรียนได้มากขึ้น

     2. เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถที่จะสนองในด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ในการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้ในการศึกษานั้น ผู้เรียนจะมีอิสระในการเสาะแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและต่อสังคมมากขึ้นเป็นการเปิดทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถของเขา สนองเรื่องความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างดี
    3.เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การจัดการศึกษาทั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าในปัจจุบันวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีหนึ่งที่สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทุกวงการ การนำเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้ามาใช้กับการศึกษา จะทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบมากขึ้น มีการศึกษาค้นคว้าทดลองวิธีการแปลก ใหม่อยู่เสมอและมีความสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมจึงทำให้การจัดการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานของระบบสังคมเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง
   4.เทคโนโลยีทางการศึกษาช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้นสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสอนและการจัดการศึกษาก็คือสื่อสื่อนับวันจะพัฒนาตัวของมันเองให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น สื่อเป็นผลิตผลอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสื่อมีพลังมากเพียงใดดังนั้นการนำสื่อมาใช้ในการศึกษาจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการจัดการศึกษานั้นจะมีพลังมากขึ้น
   5.เทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียนมิได้จำกัดเฉพาะในด้านความรู้เท่านั้นแต่ยังปลูกฝังทักษะและเจตคติที่ดีงามแก่ผู้เรียนด้วยการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางผู้เรียนได้เห็นสภาพความเป็นจริงในสังคมด้วยตาของเขาเอง เป็นการนำโลกภายนอกเข้ามาสู่ห้องเรียน ทำให้ช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับสังคมลดน้อยลง เช่น การศึกษาผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เป็นต้น
   6.เทคโนโลยีทางการศึกษาทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้กับการศึกษาทำให้โอกาสของทุกคนในการเข้ารับการศึกษามีมากขึ้นเช่นการจัดการศึกษาอย่างไม่เป็นทางการหรือไม่มีพิธีรีตรอง(InformalEducation)การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-formalEducation)ทำให้วิถีทางการเข้าสู่การศึกษาเป็นไปอย่างการจัดการศึกษาพิเศษแก่คนพิการและอื่นๆอิสระเสรีและกว้างขวางเพื่อความก้าวหน้าของแต่ละบุคคล ตามความสนใจ ความต้องการ และความสามารถของเขา



อ้างอิง  :   กระทรวงศึกษาธิการ (2552). เทคโนโลยีทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค. 62,
จากเว็บไซต์ :  https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=9738&Key=news_research







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

" กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน " กาพย์เห่ชมเครื่องคาว - หวาน บทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารั...